วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บทที่ 7 การใช้งานระบบปฎิบัติการ Windows 7 และเทคนิคพื้นฐานที่ควรรู้


บทที่ 7 การใช้งานระบบปฎิบัติการ Windows 7 และเทคนิคพื้นฐานที่ควรรู้

                เนื้อหาบทนี้ จะกล่าวถึงการใช้งานระบบปฎิบัติการ Windows 7  ซึ่งเป็นระบบปฎิบัติการที่กำลังเป็นที่นิยมใช้กันทั่วไป โดยจะคัดเฉพราะส่วนที่สำคัญๆ และถึงเทคนิคการใช้งานซึ่งเป็นไปตามหัวข้อต่างๆ ดังต่อไปนี้
การใช้งาน Gadgets
                แกตเจ็ตส์(Gadgets) คือโปรแกรมเล็กๆ ที่สามารถนำมาวางบนเดสก์ท็อปเพื่อใช้งานตามคุณสมบัติของโปรแกรมแกตเจ็ตส์นั้นๆ สำหรับระบบปฎิบัติการ Windows 7 ได้เตรียมแกตเจ็ตส์มาให้ส่วนหนึ่ง แต่ผู้ใช้ก็สามารถเลือกแกตเจ็ตส์ใหม่ๆ จากการดาวน์โหลดผ่านอินเตอร์เน็ตมาใช้เพิ่มเติมได้ อย่างไรก็ตาม โปรแกรมแกตเจ็ตส์บางตัว จำเป็นต้องเชื่อมอินเตอร์เน็ตเพื่ออ่านค่าล่าสุดมาใช้งาน เช่น โปนแกรมตรวจสอบสภาพภูมิอากกาศ และ โปรแกรมแสดงค่าเงิน เป็นต้น       

                ขั้นตอนการเรียกใช้งานแกตเจ็ตส์
คอนโทรลพาแนล (Control Panel)
                คอนโทรลพาแนล เปรียบเสมือนแผงควบคุมการทำงาน ซึ่งเป็นศูนย์รวมของโปรแกรมสำคัญต่างๆ ที่ผู้ใช้สามารถเข้าไปตั้งค่าและเรียกใช้งาน อีกทั้งภายใรคอรโทรลพาแนลยังได้รับการจัดหมวดหมู่โปรแกรมต่างๆ อย่างมีระบบ เพื่อสร้างความสะดวกต่อผู้ใช้ในการที่จะเข้าไปใช้งาน และต่อไปในจะนำเสมอการใช้งานส่วนโปรแกรมบางส่วนภายในคอนโทรลพสแนล


การปรับค่าให้กับเมาส์
ระบบปฎิบัติการ Windows จะมีรูปแบบการโต้ตอบกับระบบแบบ GUI ดังนั้น อุปกรณ์เมาส์จึงเป็นอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นต่อการใช้งาน ซึ่งแต่ละคนอาจตั้งค่าการใช้เมาส์แตกต่างกันไปโปนเฉพราะผู้ที่ถนัดใช้งานเมาส์ด้วยมือซ้าย




การตั้งเวลาปิดให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์
                บ่อยครั้งทีเดียวที่เราอาจมีความจำเป็นต้องตั้งเวลาปิดเครื่อง เพื่อมิให้เครื่องทำงานตลอด 25 ชั่วโมง ดังนั้น เนื่อหาต่อไปนี้ จำมาเรียนรู้เทคนิคการตั้งเวลาปิดเครื่องในรูปแบบอย่างง่ายกัน
การตั้งเวลาให้คอมพิวพ์เตอร์เปิดเครื่องอัตนามัติ
                ในทำนองเดียวกัน กรณีต้องการให้เครื่องเปิดอัตโนมัติ ก็สามารถทำได้เช่นกัน แต่การตั้งค่าเพื่อให้คอมพิวเตอร์เปิดเครื่องนั้น เกี่ยวข้องกับการตั้งค่าในไบออส ซึ่งเป็นโปรแกรมเฟิร์มแวร์ที่ความใกล้ชิดกับระบบฮาร์ดแวร์ภายในเครื่อง ซึ่งไบออสมีส่วนสำคัญต่อการบูตเครื่องและการกำหนดค่าเริ่มต้นให้กับอุปกรณ์
                การตั้งค่าเวลาให้คอมพิวเตอร์เปิดเครื่องอัตโนมัติ มีประโยชน์ติ่การใช้งานอยู่ไม่น้อยตัวอย่างเช่น กรณีตามบริษัททั่วที่พนักงานทุกคนจะต้องเข้ามาลงเวลาในงานในทุกๆ เช้าโดยการใช้บัตรพนักงานที่มีแถบบาร์โค้ดสแกนผ่านเครื่องอ่าน ซึ่งการมอบหมายให้พนักงานผู้หนึ่งผู้ใดรับหน้าที่ในการเปิดเครื่องในช่วงเวลาเช้า อาจเกิดปัญหาบางประการได้ เช่น ผู้รับมอบหมายเปิดเครื่องขาดงาน หรือมาสาย ดังนั้น หากตั้งเวลาให้คอมสามารถเปิดเครื่องเองแบบอัตโนมัติได้ ก็จัดเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ดีวิธีหนึ่ง อย่างไรก็ตาม การให้คอมพิวเตอร์เปิดเครื่องไบออสภายในเครื่องต้องสนับสนุนฟังก์ชั่นดังกล่าวด้วย
การแสดงข้อมูลเครื่อง และเวอร์ชั่นของระบบปฎิบัติการ
                หากต้องการทราบว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอยู่นั้น มีรายละเอียดฮาร์ดแวร์เบื้องต้นอะไรบ้าง รวมถึงใช้ระบบปฎิบัติการเวอร์ชั่นอะไร ระบบปฎิบัติการที่ใช้งานอยู่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องหรือไม่ ก็สามารถดูได้ด้วยขึ้นตอนดังนี้
การถอนโปรแกรมออกจากเครื่อง
                เมื่อโปรแกรมที่ติดตั้งอยู่ภายในเครื่อง ไม่ได้ถูกใช้งาน การถอดถอนโปรแกรมออกไปจากเครื่อง ก็นับได้ว่าเป็นสิ่งที่ดี เพราะจะทำให้เรื้อที่บนฮาร์ดดิสก์เพิ่มขึ้น


การจัดการไฟล์และโฟลเดอร์
                การใช้งานคอมพิวเตอร์ในทุกวันนี้ ล้วนเกี่ยวข้องกับข้อมูลทั้งสิ้น โดยข้อมูลหรือเอกสารสำคัญต่างๆ อาจถูกสร้างขึ้นด้วยโปรแกรมต่างๆ เช่น MS-Word, MS-Excel หรือ MS-PowerPoint รวมถึงการป้อนข้อมูลธุรกรรมประจำวันผ่านตัวโปรแกรมเพื่อบันทึกลงในฐานข้อมูล ดังนั้น ภายในคอมพิวเตอร์ (ฮาร์ดดิสก์)  ก็จะเต็มไปด้วยไฟล์ต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นไฟล์ที่เกี่ยวข้องกันโปรแกรมระบบปฎิบัติการ และไฟล์ที่ถูกสร้างขึ้นจากตัวผู้ใช้เอง

แนวคิดการจัดไฟล์และโฟลเดอร์
                แน่นอนว่า ไฟล์ข้อมูลต่างๆ ที่อยู่ภายในคอมพิวเตอร์ ย่อมมีอยู่มากมายหลายประเภท ซึ่งขึ้นอยู่ลักษณะงานของแต่ล่ะบุคคลเป็นสำคัญ ในขณะเดียวกัน แต่ละคนก็จะมีวิธีการจัดเก็บไฟล์ข้อมูลเหล่านั้นตามวิถีของตน

1.ควรจัดเก็บไฟล์ข้อมูลต่างๆ แยกออกจากไฟล์โปรแกรม
                เป็นวิธที่หลายๆ คน ที่ใช้คอมพิวเตอร์มายาวนานมักนิยมใช้ ซึ่งเป็นสิ่งที่น่ากระทำตามกล่าวคือ โดยส่วนใหญ่แล้ว คอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอยู่ทั่วไปมักใช้งานอยู่ทั่วไปมักใช้ฮาร์ตดิสก์เพียง 1 ตัว

                2.ไม่ควรเปลี่ยนชื่อโฟลเดอร์ที่ถูกสร้างขึ้นจากโปรแกรมติดตั้ง
                ในขณะที่มีการติดตั้งโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ โปรแกรมประยุกต์เหล่านั้นจะสร้างโฟลเดอร์ของตนขึ้นมา เพื่อเก็บข้อมูลของตัวโปรแกรมเอาไว้ และตำแหน่งโฟลเดอร์นี้เอง ขะถูกนำมาใช้อ้างอิงในการเข้าถึงไฟล์ข้อมูลสำคัญ

                3.ควรเก็บไฟล์ข้อมูลเพียงชุดเดียว
                เป็นไปได้ว่า ปัญหาจากการมีไฟล์ข้อมูลหลายๆ ชุด ทั้งๆ ที่เป็นข้อมูลเรื่องเดียวกัน จึงทำให้เกิดความสับสนว่า ไฟล์ชุกไหนเป็นข้อมูลล่าสุด ปัญหานี้ อาจเกิดความหวังดีในเรื่องการสำรองข้อมูลเผื่อไว้

                4.จัดระเบียบโฟลเดอร์ให้ใช่งานง่ายที่สุด
                การสร้างโฟลเดอร์ย่อย เป็นวิธีพื้นฐานที่ช่วยให้เราสามารถจัดระเบียบข้อมูลได้เป็นอย่างดี คล้ายกับตู้เอกสารที่แต่ล่ะลิ้นชักจะเก็บข้อมูลในการจัดแบ่งประเภทไว้โดยเฉพราะ ในขณะเดียวกัน แต่ละลิ้นชัก ก็จะประกอบไปด้วยแฟ้มข้อมูลหมวดต่างๆ อีกจำนวนมาก ดังนั้น หากมีการสร้างโฟลเดอร์ย่อยในระดับลึกลงไปหลายๆ ชั้น จะทำให้ต้องเสียเวลาคลิกเพื่อเปิดโฟลเดอร์นั้น

                5.ให้ตั้งชื่อไฟล์และโฟลเดอร์ที่สื่อความหมายได้ดี
                การตั้งชื่อไฟล์และโฟลเดอร์ที่สื่อความหมายได้ดีนั้น ทำให้เราสามารถตีความหมายว่าไฟล์หรือโฟลเดอร์นั้นเก็บข้อมูลอะไรไว้ ยกตัวอย่างเช่น ไฟล์ชื่อ “Doc001.doc” ย่อมไม่ได้สื่อความหมายว่าข้อมูลในไฟล์นั้นคือข้อมูลอะไร แต่ถ้าตั้งชื่อว่า “Budget57.doc” หรืองบประมาณ57.doc” ก็จะทำให้รู้ทันทีว่า ไฟล์นั้นคือข้อมูลเกี่ยวกับงบประมาณปี 2557 หรือโฟลเดอร์ที่ตั้งชื่อว่า “Utility_SW” ก็จะตีความหมายได้ทันทีว่า ข้อมูลที่บรรจุในโฟลเดอร์ Utility_SW นั้นคือโปรแกรมยูทิลิตี้ต่างๆ
การเปลี่ยนมุมมองการแสดงผลของไฟล์
                ที่โปรแกรม Windows Explorer เมื่อเข้าไปยังตำแหน่งโฟลเดอร์ตามที่ต้องการแล้วจะมีรายการไฟล์ข้อมูลต่างๆ แสดงออกมา ซึ่งรายการไฟล์เหล่านั้น เรายังสามารถเข้าไปกำหนดมุมมองการแสดงผลได้


การสร้างโฟลเดอร์
                เรายังสามารถสร้างโฟลเดอร์ใหม่ขึ้นมาเพื่อจัดเก็บไฟล์ลงในโฟลเดอร์ดังกล่าวได้ด้วยวิธีง่ายๆ ดังนี้

การเปลี่ยนชื่อโฟลเดอร์
                หากต้องการเปลี่ยนชื่อไฟล์ข้อมูล หรือเปลี่ยนชื่อโฟลเดอร์สามารถทำได้ตามขั้นตอนดังนี้

การเปลี่ยนนามสกุลไฟล์
                ตามปกติแล้ว ที่ Windows Explorer ได้มีการตั้งค่าให้ซ่อนนามสกุลไฟล์เอาไว้ โดยผู้ใช้จะเห็นเฉพราะชื่อไฟล์ ส่วนข้อมูลสกุลไฟล์ ก็ได้ระบุไว้ตรงชนิดไฟล์ (Type) ให้ทราบอยู่แล้ว รวมถึงรูปไอคอนตามสกุลไฟล์เหล่านั้น ดังนั้น ในการที่เราจะเข้าไปเปลี่ยนนามสกุลไฟล์ตามปกติ จึงไม่ได้ทำให้ไฟล์นั้นถูกเปลี่ยนสกุลจริงๆ


การลบและกู้ไฟล์จาก Recycle Bin
                กรณีต้องการลบไฟล์หรือโฟลเดอร์ออกไป สามารถทำได้ตามขั้นตอนดังนี้


การคัดลอกไฟล์หรือโฟลเดอร์
                ในการเลือกไฟล์ สามารถทำได้โดย
·        กดปุ่ม Ctrl + A เป็นการเลือกทุกไฟล์
·       กดปุ่ม Ctrl ค้างไว้ แล้วคลิกที่ชื่อไฟล์ เป็นการเลือกทีละไฟล์ตามที่กำหนด
·       กดปุ่ม Shift ค้างไว้ แล้สคลิดที่ชื่อไฟล์ เป็นการเลือกไฟล์แรกจดไฟล์ท้ายแบบต่อเนื่องกัน


อย่างไรก็ตาม เราสามารถใช้ปุ่มฮอตคีย์เพื่อดำเนินกับการคัดลอกในรูปแบบต่างๆ ได้ดังนี้

               
               
                Ctrl + C คือการคัดลอก (Copy)
                Ctrl + X คือการคัดลอกแบบเคลื่อนย้าย (Cut)
                Ctrl + V คือการวางสิ่งที่ได้คัดลอกไว้ (Paste)
                และในการดำเนินการใดๆ เรายังสามารถที่จะ Undo หรือ Redo ในสิ่งที่ทำไป คือ
                Ctrl + Z คือการ Undo
                Ctrl + Y คือการ Redo

การค้นหาไฟล์
                เนื่องจากไฟล์ข้อมูลที่เก็บไว้ตามแหล่งต่างๆ มีจำนวนมาก จนบางครั้งเราอาจลืมไปว่าไฟล์
ดังกล่าวจัดเก็บไว้ที่ไหนบ้าง วิธีแก้ปัญหานี้ก็คือ การใช้เครื่องมือค้นหาไฟล์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น