ความหมายของโปรแกรมยูทิลิตี้
โปรแกรมยูทิลิตี้จัดเป็นโปรแกรมประเภทหนึ่งของซอฟต์แวร์ระบบที่ถูกนำมาใช้เพื่อสนับสนุนการทำงานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของโปรแกรมที่ใช้อยู่ขณะนั้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดยิ่งขึ้น โปรแกรมน้าจสร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ใดๆ ตามแต่ผู้สร้าง เช่นเพื่อบำรุงรักษาโปรแกรม เพื่องานสำรองและกู้คืนข้อมูล หรือเพื่อปรับจูนระบบ
ในระบบปฏิบัติการจำเป็นต้องมีโปรแกรมดังกล่าว และมักมีขีดความสามารถค่อนข้างจำกัด สำหรับโปรแกรมที่ติดมากับระบบวินโดวส์ และเพื่อเพิ่มขีดความสามารถก็จำเป็นที่จะต้องโหลดโปรแกรมยูทิลิตี้จากอินเทอร์เน็ตมาใช้งาน เพราะในปัจจุบันมีโปรแกรมฟรีให้ได้โหลดใช้กันอย่างมากมาย
ยูทิลิตี้สำหรับการป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์
โปรแกรมป้องกันไวรัสคมพิวเตอร์จัดเป็นโปรแกรมที่สำคัญที่จะต้องมีอยู่ในเครื่องเพื่อป้องกันไวรัสจากแหล่งอื่นที่พยายามจะเข้ามาทำลายระบบภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา และในปัจจุบันแล้วผู้ใช้จำเป็นที่จะต้องใช้งานอินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ไวรัสคอมพิวเตอร์จะบุกมาทำลายเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา ในปัจจุบันยังไม่มีโปรแกรมป้องกันใดที่ป้องกันไวรัสได้ถึง 100 % แต่ก็มีแนวทางที่สามารถทำได้เพื่อป้องกันเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา ดังนี้
1.หลีกเลี่ยงการใช้สื่อจากแหล่งอื่นในการบูตเครื่อง
คอมพิวเตอร์นอกจากจะบูตเครื่องจากตัวฮาร์ดดิสก์ภายในเครื่องแล้ว ยังสามารถบูตจากสื่อบันทึกข้อมูลอย่างอื่นได้ เช่น แฟลชไดร์ ซีดี ดีวีดี ซึ่งหากไม่มีความจำเป็นก็ควรหลีกเลี่ยงเพื่อลดปัญหาไวรัสคอมพิวเตอร์รบกวน
2.การใช้โปรแกรมป้องกันไวรัส
เป็นการป้องกันการโจมตีไวรัส ด้วยการติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสภายในเครื่องและด้วยโปรแกรมป้องกันไวรัสในปัจจุบันค่อนข้างที่จะมีประสิทธิภาพ สามารถที่จะตรวจสอบพบไวรัสคอมพิวเตอร์ที่ฝังตัวอยู่ภายในเคื่องของเราละส่งเสียงร้องเตือนได้ และยังสามารถกำจัดไวรัสเหล่านั้นออกไปจากเครื่องได้ แต่จำเป็นที่จะต้องทำการอัปเดทบ่อยๆ เพราะตัวไวรัสเองก็มีการเกิดขึ้นใหม่ทุกวันเช่นกัน ดังนั้นตัวโปรแกรมจึงต้องมีความทันสมัยอยู่ตลอดเวลา
3.ไม่ควรเปิดไฟล์เอกสารที่มีไวรัสแฝงอยู่
หากไฟล์เอกสารที่ได้รับจากแหล่งอื่นมีไวรัสแฝงตัวอยู่ โดยเครื่องจะมีการร้องเตือนว่าไฟล์ดังกล่าวมีไวรัสแฝงตัวมา ให้รีบทำการลบไฟล์ดังกล่าวทิ้งทันที และไม่ควรทดลองเปิดไม่ว่ากรณีใดก็ตาม
4.ควรตรวจสอบสื่อบันทึกข้อมูลก่อนการใช้งานเสมอ
ก่อนการใช้งานสื่อบันทึกข้อมูลใดๆ ควรทำการตวรจสอบหรือ สแกนก่อนว่าสื่อบันทึกข้อมูลนั้นมีตัวไวรัสติดมาด้วยหรือไม่ เพื่อให้มั่นใจว่าคอมพิวเตอร์ของเราจะปลอดภัยจากไวรัสอย่างแน่นอน
5.หมั่นทำการสำรองข้อมูล
เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับข้อมูลที่สำคัญ เราควรทำการสำรองข้อมูลและควรทำให้เป็นกิจนิสัย ทุกสัปดาห์ หรือทุกๆวันก็จะยิ่งเป็นผลดีเช่นกัน
ยูทิลิตี้เพื่อการสำรองและการกู้คืนข้อมูล
ในปัจจุบันข้อมูลนั้นล้วนเป็นสิ่งที่มีค่ามากสำหรับหลายๆคนที่ใช้คอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบ ไฟล์เอกสาร รูปภาพ วิดีโอ ต่างๆ หากมีเหตุที่ทำให้ข้อมูลต้องเกิดความเสียหายไม่ว่าจะเกิดจากเหตุใด ก็จะทำให้ข้อมูลนั้นไม่สามารถนำกลับมาใช้งานได้หากไม่มีการสำรองข้อมูลนั้นไว้
สำหรับวิธีการสำรองข้อมูลนั้นแบบง่ายๆเลยก็คือ การทำสำเนาข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไฟล์เอกสาร รูปภาพ หรือสื่ออื่นๆ ที่สำคัญต่อผู้ใช้ ด้วยการคัดลอกเก็บไว้ในสื่อบันทึกข้อมูลภายนอกเช่น แฟลชไดรฟ์ รวมถึงอาจใช้วิธีการบีบอัดไฟล์ก็สามารถทำได้เช่นกัน
การสำรองข้อมูลระบบ
ผู้ใช้งานทั่วไป คงเคยพบปัญหาที่ระบบปฏิบัติการมีอาการรวน ทำให้เราต้องทำการล้างเครื่องเพื่อติดตั้งระบบปฏิบัติการใหม่ และต้องติดตั้งโปรแกรมประยุกต์ใหม่ทั้งหมด จำนวนมาก แต่ถ้าหากมีการสำรองข้อมูลเอาไว้ก็จะทำให้เรื่องทุกอย่างกลายเป็นเรื่องที่ง่าย เพราะเมื่อใดที่เราทำการกู้คืนข้อมูลก็จะทำให้ข้อมูลที่เราเคยสำรองเอาไว้กลับมาใช้งานได้เหมือนเดิม
สำหรับการสำรองข้อมูลระบบนั้นไม่สามารถทำได้ด้วยการ คัดลอกเหมือกับการคัดลอกไฟล์ทั่วๆไป แต่จะเป็นการสำรองข้อมูลในระดับพาทิชั่นของฮาร์ดดิสก์ที่ติดตั้งโปรแกรมไว้ โดยที่ข้อมูลที่สำรองนั้นจะเป็นไฟล์รูปแบบ อิมเมจไฟล์ โดยอิมเมจไฟล์จัดเป็นไฟล์ชนิดหนึ่งที่เก็บรายละเอียดข้อมูลทั้งหมดในระดับเซ็กเตอร์ เหมาะกับการคัดลอก สำรองไฟล์ข้อมูลในปริมาณมากๆ แต่ใช้เวลาในการคัดลอกเพียงน้อยนิด และม่ามารถเปิดอ่านได้จนกว่าจะได้รับการกู้คืน
โปรแกรมยูทิลิตี้ที่น่าสนใจ
1. โปรแกรม CPU-Z
2. โปรแกรม Mem Test
3. โปรแกรมบีบอัดไฟล์ WinRaR
แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 8
ตอนที่ 1 จงตอบคำถามต่อไปนี้
1. โปรแกรมยูทิลิตี้คืออะไร จงอธิบาย
ตอบ = โปรแกรมยูทิลิตี้จัดเป็นประเภทหนึ่งของซฮฟต์แวร์ระบบที่ถูกนำมาใช้เพื่อสนับสนุนและเพิ่มเติมขีดความสามารถของโปรแกรมที่ใช้งานในขณะนั้น ให้เกิดประสิทธิภาพสูงขึ้นโปรแกรมนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ใดๆตามจุดประสงค์ของผู้สร้าง เช่นใช้บำรุงรักษาระบบบ เพื่องานสำรองข้อมูลและการกู้คืน หรือเพื่อการปรับจูน
2. จงสำรวจเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานส่วนตัวของนักเรียน ว่ามีการติดตั้งโปรแกรมยูทิลิตี้ ตัวใดบ้าง ด้วยการระบุเป็นข้อๆ (ไม่นับรวมโปรแกรมยูทิลิตี้ที่ติดมากับเครื่อง)
ตอบ = 1. WinRaR 2. CCleaner
3. จงสรุปหน้าที่การทำงานโดยย่อของโปรแกรม CPU-Z
ตอบ = วัดความเร็วซีพียูหรือหน่วยประมวลผลกลาง ซึ่งถือเป็นหัวใจหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง สำหรับโปรแกรมนี้ จะทำให้คุณทราบข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับสเปคคอมพิวเตอร์ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับซีพียู เมนบอร์ด หรือจะเป็นหน่วยความจำหรือส่วนของกราฟฟิค และระบบคอมพิวเตอร์ในส่วนอื่นๆได้อีกด้วย
4. จงสรุปหน้าที่การทำงานโดยย่อของโปรแกรม Mem Test
ตอบ = เป็นโปรแกรมเช็คแรม หรือโปรแกรมตรวจสอบแรม ตรวจสภาพการทำงานของหน่วยความจำหรือที่เรียกว่าแรม อย่างละเอียด ทดสอบขีดจำกัดของแรม หาข้อผิดพลาด (Error) จุดเสียที่มีอยู่ในแรมบนเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ เพื่อที่จะได้รู้ว่าเสียหรือไม่ ซึ่งสามารถทำงานได้กับระบบปฏิบัติการทุกระบบ
5. จงสรุปหน้าที่การทำงานโดยย่อของโปรแกรม Pc Tools Registry Mechanic
ตอบ = สำหรับโปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมที่มีหน้าที่เอาไว้ในการตรวจค้น กวาดล้าง หรือจะเป็นการซ่อมแก้ไข ส่วนของ Registry ถือได้ว่าเป็นส่วนสำคัญของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพราะว่าเป็นโปรแกรมพวก Spyware หรือ Trojan Horse ที่อาจเข้ามาสร้างความวุ่นวายให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ได้
6. จงสรุปหน้าที่การทำงานโดยย่อของโปรแกรม WinRaR
ตอบ = หน้าที่ของ WinRaR คือเอาไว้สำหรับบีบอัดไฟล์เช่นเดียวกับ Winzip แต่พิเศษกว่าคือ Winzip คือโปรแกรม WinRaR สามารถที่จะทำการบีบนามสกุล .ZIP หรือจะเป็น .RAR ได้อีกทั้งยังคลายไฟล์นามสกุล .ARJ .CAB .LZH .ACE .TAR .GZ .UUE ช่วยให้ประสิทธิภาพในการประหยัดเนื้อที่มากขึ้น
7. แนวทางในการป้องกันไวรัส ประกอบด้วยอะไรบ้าง จงสรุปมาให้พอเข้าใจ
ตอบ = 1. หลีกเลี่ยงการใช้สื่อจากแหล่งอื่นในการบูตเครื่อง
2. ตั้งค่าระดับความปลอดภัยในโปรแกรมประยุกต์เพื่อป้องกนัไวรัสมาโคร
3. การใช้โปรแกรมป้องกันไวรัส
4. ไม่เปิดไฟล์เอกสารที่มีไวรัสแฝงอยู่
5. ควรตรวจสอบสื่อบันทึกข้อมูลก่อนใช้งานเสมอ
8. อยากทราบว่านักเรียนเคยใช้โปรแกรมป้องกันไวรัสตัวใดบ้าง จงระบุเป็นข้อๆ และมีความชื่นชอบโปรแกรมป้องกันไวรัสตัวใดมากที่สุด เพราะอะไร
ตอบ = 1. Avast Antivirus 2. CCleanning
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น